‘พีระพันธุ์’ ดันร่างกฎหมายส่งเสริมปาล์มน้ำมัน ช่วยเกษตรกรรับมือเลิกชดเชยไบโอดีเซล
ข่าวประชาสัมพันธ์ทั่วไป
20 พฤศจิกายน 2567
9
0
0
‘พีระพันธุ์’ ดันร่างกฎหมายส่งเสริมปาล์มน้ำมัน ช่วยเกษตรกรรับมือเลิกชดเชยไบโอดีเซล
.
‘พีระพันธุ์’ ตั้ง ‘อรรถวิชช์’ นั่งประธานคณะกรรมการยกร่างกฎหมายส่งเสริมปาล์มน้ำมัน เร่งช่วยเหลือเกษตรกรและกลุ่มผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน ให้ได้รับค่าตอบแทนและผลประโยชน์ที่เป็นธรรม พร้อมรับมือกองทุนน้ำมันฯ เลิกชดเชยไบโอดีเซลอีก 2 ปีข้างหน้า คาด 5-6 เดือนเห็นรูปร่าง
.
วันนี้ (18 พฤศจิกายน 2567) ที่กระทรวงพลังงาน นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานได้เตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันไบโอดีเซลที่จะปรับตัวสูงขึ้น หลังสิ้นสุดการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในปี พ.ศ. 2569 พร้อมหาแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันที่จะได้รับผลกระทบในอีก 2 ปีข้างหน้า
นายพีระพันธุ์กล่าวว่า ตนในฐานะที่มีส่วนกำกับดูแลกระทรวงอุตสาหกรรม ได้หารือกับ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้ง ปลัดกระทรวงพลังงาน และปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา และได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อยกร่างกฎหมายส่งเสริมปาล์มน้ำมันให้กับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน โดยมอบหมายให้ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี เป็นประธานคณะกรรมการดังกล่าว และคาดว่าภายใน 5-6 เดือนหลังจากนี้จะเริ่มเห็นรูปร่างของโครงการชัดเจนมากยิ่งขึ้น
นายพีระพันธุ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ปาล์มน้ำมันถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญกับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนปาล์มเป็นอย่างมาก และในอดีตน้ำมันปาล์มยังถูกนำมาใช้ประโยชน์ในช่วงที่น้ำมันดีเซลมีราคาแพง โดยนำมาผสมกับน้ำมันดีเซล ทำให้มีปริมาณน้ำมันเพิ่มขึ้นและราคาถูกลง เรียกว่า น้ำมันไบโอดีเซล หรือ B 100 เนื่องจากน้ำมันปาล์มในช่วงเวลานั้นมีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซลหลายเท่า
แต่ปัจจุบัน ราคาน้ำมันปาล์มตกอยู่ที่ประมาณ 41-42 บาทต่อลิตร ซึ่งแพงกว่าเนื้อน้ำมันดีเซลที่นำมาผสมเกือบเท่าตัว จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ราคาน้ำมันในประเทศไทยแพงขึ้น และต้องใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาชดเชยให้ราคาน้ำมันดีเซลอยู่ที่ไม่เกิน 33 บาทต่อลิตร ซึ่งเหลือเวลาให้ชดเชยได้อีกเพียง 2 ปีเท่านั้น ขณะเดียวกัน ด้านเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันก็เริ่มมีปัญหาส่วนแบ่งราคากับโรงสกัด และผลประโยชน์จากราคาน้ำมันปาล์มที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นก็ไปไม่ถึงเกษตรกรอย่างที่ควรจะได้รับ ทั้งนี้ จากผลผลิตน้ำมันปาล์มทั้งหมดในประเทศ 1 ใน 3 นำมาผสมกับน้ำมันดีเซลเพื่อใช้ภายในประเทศ ส่วนอีก 2 ใน 3 นำไปผลิตน้ำมันพืชและผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยมีการส่งออกในส่วนนี้ประมาณ 20%
นายพีระพันธุ์กล่าวว่า เพื่อดูแลเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันให้ได้ค่าตอบแทนผลผลิตที่เป็นธรรมและถูกต้อง จึงต้องร่างกฎหมายออกมาฉบับหนึ่ง ชื่อว่า กฎหมายส่งเสริมปาล์มน้ำมัน ซึ่งจะมีรูปแบบเหมือนกฎหมายอ้อยและน้ำตาล เพื่อเป็นการรองรับในอีก 2 ปีข้างหน้า เมื่อกองทุนน้ำมันต้องหยุดชดเชยการผสมน้ำมันปาล์มในเนื้อน้ำมัน และต้องเร่งทำให้เกิดความเป็นธรรมกับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน รวมทั้งสายการผลิตที่จะนำผลปาล์มน้ำมันไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้มีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ดีกว่าในปัจจุบัน
“ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากฎหมายฉบับนี้จะเป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่สร้างความเป็นธรรม มีการจัดสรรแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างผู้ที่นำผลปาล์มน้ำมันไปผลิตเป็นน้ำมัน และทำให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ และจะมีการศึกษาพัฒนาต่อยอดการนำผลผลิตไปทำให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่อไป” นายพีระพันธุ์กล่าว
ก่อนหน้านี้ กระทรวงอุตสาหกรรมเคยออกกฎหมายที่เรียกว่า ‘พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาล’ เพื่อวางระบบให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยได้รับผลประโยชน์จากการนำอ้อยไปผลิตเป็นน้ำตาล โดยมีการวางระบบจัดสรรผลประโยชน์ระหว่างกันเพื่อทำให้เกิดความเป็นธรรมมากขึ้น และจะเป็นต้นแบบในการร่างกฎหมายเพื่อดูแลปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันซึ่งเป็นปัญหาที่คล้ายคลึงกันต่อไป
R
ELATED NEWS
ข่าวที่น่าสนใจ
Hover Icon
2 กรกฎาคม 2567
2
การประชุมเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพลังงานจังหวัดระนอง

วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.15 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานพลังงานจังหวัดระนอง โดย นายวิชาญกรณ์ ประภาวิทย์ พลังงานจังหวัดระนอง เป็นประธานการประชุมเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพลังงานจังหวัดระนอง เพื่อติดตามและรายงานผลการดำเนินงาน ประจำเดือนตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย พร้อมทั้งมอบค่าตอบแทนการปฏิบัติงานพิเศษ และมอบรางวัลเจ้าหน้าที่ดีเด่น ประจำเดือน มิถุนายน 2567

Hover Icon
11 กรกฎาคม 2567
3
พิธีเวียนเทียนสมโภชน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2567 นายนริศ นิรามัยวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เป็นประธานพิธีเวียนเทียนสมโภชน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พร้อมด้วย นายราชัน มีน้อย รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ว่าที่ร้อยตรีกิตติภพ รอดดอน รองผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง นางสุพิณญา นิรามัยวงศ์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดระนอง ข้าราชการทุกหมู่เหล่า ตุลาการ ทหาร ตำรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และพสกนิกรชาวระนอง เข้าร่วมในพิธี ในการนี้ นายวิชาญกรณ์ ประภาวิทย์ พลังงานจังหวัดระนอง มอบหมายให้ นางสาวนพรจน์ ทองบุญยัง วิศวกรชำนาญการ ร่วมพิธีดังกล่าว ณ พระอุโบสถ วัดสุวรรณคีรีวิหาร พระอารามหลวง จังหวัดระนอง

Hover Icon
11 กรกฎาคม 2567
2
รู้ก่อน ปลอดภัย ป้องกัน ไฟฟ้าลัดวงจรในช่วงหน้าฝน

รู้ก่อน ปลอดภัย ป้องกัน ไฟฟ้าลัดวงจรในช่วงหน้าฝน ช่วงฝนตก มักเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรมากกว่าปกติ วันนี้ กระทรวงขอนำเสนอวิธีป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจรที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้ ? ไม่ควรใช้หรือแตะต้องเครื่องใช้ไฟฟ้าขณะตัวเปียก กรณีที่เครื่องใช้ไฟฟ้าอยู่นอกตัวบ้าน หรือตัวเปียกจากข้างนอกแล้วเข้ามาในบ้าน สิ่งที่ต้องทำคือหาพื้นที่แห้งหรือเช็ดมือให้แห้ง ก่อนที่จะสัมผัสกับปลั๊กสวิตช์ไฟ รวมถึงไม่ควรสัมผัสกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในขณะที่ตัวเปียกโดยตรง ? ตรวจเช็คสายไฟให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เก่าหรือชำรุด อาจทำให้เกิดการช็อตหรือลัดวงจรได้ ยิ่งเมื่อฝนตกหรือน้ำท่วมไปถึงสายไฟต่างๆ ที่วางเอาไว้ อาจทำอันตรายคุณได้ ? ติดตั้งเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ ป้องกันไฟรั่วและไฟฟ้าลัดวงจร เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในกรณีที่มีน้ำท่วมขังหรือความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน การติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟอัตโนมัติ เป็นทางออกที่ดี เพื่อการตัดวงจรกระแสไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเกิดการช็อตหรือลัดวงจร ? ยกเครื่องใช้ไฟฟ้าขึ้นที่สูง ไม่อยู่ติดพื้นหากมีการรั่วซึมของน้ำ เผื่อกรณีน้ำรั่วซึมจากหลังคาและหยดลงมาบนพื้นบ้าน หากเครื่องใช้ไฟฟ้ามีกระแสไฟรั่วไหล จะทำอันตรายต่อผู้ที่เดินไปมาบริเวณนั้น จึงควรย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ให้สูงขึ้นจากพื้น ไม่ให้ถูกน้ำโดยตรง ? ใช้ปลั๊กไฟที่ได้มาตรฐานและไม่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟเยอะ ไม่ควรเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าเต็มปลั๊กพ่วงทุกช่อง เพราะเสี่ยงทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรจากความร้อนสูงสะสมในสายไฟ รวมถึงหลีกเลี่ยงการเสียบปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กำลังไฟมากพร้อมกัน เช่น เตารีด (กำลังไฟ 430-1,600 วัตต์) กระติกน้ำร้อน (กำลังไฟ 300-600 วัตต์) ไมโครเวฟ (กำลังไฟ 300-1,500 วัตต์) เพราะเป็นการใช้งานเกิดขนาดพิกัดทำให้เกิดความเสี่ยงไฟฟ้าลัดวงจรได้ ดังนั้น เราควรระมัดระวังการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ดี เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามครับ